พิธีเปิด โครงการพัฒนา soft skills ด้วยกระบวนการวิศวกร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น “ฝายสร้างชีวิต ด้วยวิศวกรสังคม” บ้านเสลียงแห้ง 3 ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
*****************************************
วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ นำผู้บริหารและบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ “ฝายน้ำสร้างชีวิต ด้วยวิศวกรสังคม” โดยได้รับเกียรติจาก ท่านชัชวาล เบญจศิริวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดพิธีในครั้งนี้ ที่ บ้านเสลียงแห้ง 3 ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยในพิธีเปิดมีการแสดงต้อนรับจากชุมชนบ้าน เสลียงแห้ง มีนายอำเภอเขาค้อให้การต้อนรับและมีผู้บัญชาการกองพลทหารม้าที่ 1 ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ร่วมกดปุ่มเปิดแพรป้าย “ฝายสร้างชีวิต ด้วยวิศวกรสังคม”
ทั้งนี้ยังมีกิจกรรมปลูกต้นไม้ และปลูกหญ้าแฝก ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศทั้ง 38 แห่ง เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งจากโครงการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่กำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย คือ “ประเทศไทย มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักสูตรปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์จึงมุ่งเน้นพัฒนาและเสริมสร้างให้บัณฑิต มีคุณลักษณะของคนไทย 4 ประการ ตามพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันได้แก่ 1) มีทัศนคติที่ดีและถูกต้อง 2) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคงเข้มเข็ง 3) มีงานทำ-มีอาชีพและ 4) เป็นพลเมืองดีมีระเบียบวินัย
อีกทั้งมุ่งพัฒนาทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 โดยในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์นั้นได้นำหลักการ ซึ่งใช้ชื่อว่า “วิศวกรสังคม คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” (Social Engineer) ที่มีหลักการสอดคล้องกับทั้งศาสตร์ของพระราชาและทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยมีคุณลักษณะและทักษะสำคัญ 4 ประการ ได้แก่
1) นักคิด : ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุ ผล เห็นปัญหาเป็นเรื่องท้าทาย
2) นักสื่อสาร : ทักษะการสื่อสารองค์ความรู้เพื่อแก้ปัญหา
3) นักประสานงาน : ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง สามารถระดม ทรัพยากร สรรพกำลังในท้องถิ่นเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาได้
4) นวัตกร : ทักษะการสร้างนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาบนฐาน ข้อมูลชุมชน
จากเหตุผลความจำเป็นข้างต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์จึงได้ดำเนินโครงการเพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มีทักษะในการเป็นวิศวกรสังคม ได้แก่ นักคิด นักประสานงาน นักสื่อสารและนวัตกร เพื่อสังคมสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ในการปฏิบัติงานจริง แก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในมิติ ต่าง ๆ นำจุดเด่นที่หลากหลายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มาบูรณาการในการแก้ปัญหา อีกทั้งเพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่มีในมหาวิทยาลัยไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในการดำเนินโครงการ มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มีทักษะในการเป็นวิศวกรสังคมได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ เชิงเหตุ-ผล ทักษะการสื่อสาร ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นโดยปราศจากข้อขัดแย้ง และทักษะ การสร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม
2. เพื่อให้บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ที่ได้รับการพัฒนาทักษะการเป็นที่ปรึกษาวิศวกรสังคม
3. เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ในการปฏิบัติงานจริง แก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนในมิติต่าง ๆ เช่น ด้านความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และปัญหา คุณภาพชีวิต โดยการสร้างหรือนำองค์ความรู้ที่หลากหลายในมหาวิทยาลัยมาบูรณาการในการแก้ปัญหา
4. เพื่อนำองค์ความรู้หรือนวัตกรรมที่มีในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์สามารถประยุกต์ไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองและจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน