ประวัติความเป็นมา

“คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
เป็นแหล่งองค์ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่น”

          คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542 ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 และแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2527 ซึ่งได้กำหนดให้วิทยาลัยครูขยายฐานะทางวิชาการให้สามารถเปิดสอนสาขาวิชาการอื่นๆ ได้

          เดิมคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็น “ภาควิชาเกษตรศาสตร์” ที่สังกัดอยู่ใน “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ต่อมาภาควิชาเกษตรศาสตร์ ได้เปลี่ยนเป็น “คณะเทคโนโลยีการเกษตร” มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์จินตนา สนามชัยสกุล เป็นคณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรคนแรก ซึ่งคณะเทคโนโลยีการเกษตรรับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอนเพียง 2 โปรแกรมวิชา คือ 1) โปรแกรมวิชาเกษตรกรรม ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (คบ.) วิชาเอกเกษตรกรรม และ 2) โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์  ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)  แบ่งเป็น 4 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สาขาวิชาสัตวบาล สาขาวิชาพืชศาสตร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร
     ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการย้ายโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม โปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม และโปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ ซึ่งเดิมเป็นโปรแกรมวิชาที่สังกัดอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาสังกัดที่คณะเทคโนโลยีการเกษตร ซึ่งทำให้มีโปรแกรมเพิ่มขึ้นจากเดิม ดังนี้
           – โปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี
           – โปรแกรมวิชาคหกรรมศาสตร์ ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) 4 ปี
           – โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 2 ปีหลัง ซึ่งประกอบด้วย 5 วิชาเอก คือ วิชาเอกเทคโนโลยีการผลิต วิชาเอกเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม วิชาเอกเทคโนโลยีอุตสาหกรรมก่อสร้าง วิชาเอกเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และวิชาเอกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
          ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) 4 ปี คณะเทคโนโลยีการเกษตร จึงมีการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น ดังนนี้
               1. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 5 สาขา ดังนี้ 1) สาขาเทคโนโลยีการผลิต 2) สาขาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม 3) สาขาเทคโนโลยีก่อสร้าง 4) สาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ และ 5) สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
               2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย 4 สาขาดังนี้ 1) สาขาสัตวศาสตร์ 2) สาขาพืชศาสตร์ 3) สาขาการจัดการการเกษตร และ 4) สาขาคหกิจการอาหาร
               3. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) โปรแกรมวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
          ในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการแต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์บุญรัตน์ พิมพ์พาภรณ์ เป็นคณบดีคนที่ 2 ของคณะเทคโนโลยีการเกษตร
          ในปี พ.ศ. 2555 คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรและเสนอหลักสูตรใหม่ มีการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ 
               1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
                    1.1 โปรแกรมวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 ประกอบด้วย 4 สาขาวิชา ดังนี้
                              1.1.1  สาขาวิชาสัตวศาสตร์
                              1.1.2  สาขาวิชาพืชศาสตร์
                              1.1.3  สาขาวิชาการจัดการการเกษตร 
                              1.1.4  สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ 
               2. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
                    2.1  โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 ประกอบด้วย 5 สาขาวิชา ดังนี้
                              2.1.1 สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต
                              2.1.2 สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
                              2.1.3 สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมก่อสร้าง
                              2.1.4 สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
                              2.1.5 สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม
                     2.2  สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555
               3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555 ประกอบด้วย 2 สาขาวิชา ดังนี้
                    3.1 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
                    3.2 สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต
               4. คณะเทคโนโลยีการเกษตรร่วมกับคณะครุศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอน หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) สาขาวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
          ในปี พ.ศ. 2558 มี อาจารย์สิบโท ดร.พิศุทธิ์ บัวเปรม เป็นคณบดี คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้เปลี่ยนชื่อคณะ จากเดิมชื่อ “คณะเทคโนโลยีการเกษตร” เป็น “คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม” ตามราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 81 ก หน้า 33 วันที่ 26 สิงหาคม 2558  โดยสถานที่ตั้งของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อยู่ที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา  มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 83 หมู่ 11 ถนนสระบุรี-หล่มสัก ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000
          ในปี พ.ศ. 2559 คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรและเสนอขออนุมัติเปิดหลักสูตรใหม่ โดยมีการจัดการเรียนการสอน ดังนี้ 
               1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) โดยความรับผิดชอบของ สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรี 4 ปี ซึ่งมีทั้งสิ้น 5 วิชาเอก ได้แก่
                    1.1 วิชาเอกสัตวศาสตร์
                    1.2 วิชาเอกพืชศาสตร์
                    1.3 วิชาเอกการจัดการการเกษตร
                    1.4 วิชาเอกคหกรรมศาสตร์ 
                    1.5 วิชาเอกเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ไม่เปิดรับนักศึกษา)
               2. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) โดยความรับผิดชอบของสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 ผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีซึ่งมีทั้งสิ้น 4 วิชาเอก ได้แก่
                    2.1 วิชาเอกเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
                    2.2 วิชาเอกเทคโนโลยีอุตสาหกรรมก่อสร้าง
                    2.3 วิชาเอกเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
                    2.4 วิชาเอกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
               3. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
                    สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
               4. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
                    สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
               5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559
                    สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและการจัดการ
               6. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2559
                    สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต
          และในปีการศึกษา 2559 นี้ ได้มีการย้ายหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (คบ.) หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2555 สาขาวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี จากคณะครุศาสตร์ มาสังกัดคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
          ในปีการศึกษา 2560 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ได้มีการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) วิชาเอกเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
          ในปีการศึกษา 2562 วิชาเอกเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรจากเดิมเป็นหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา
          ในปีการศึกษา 2563 ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ) 3 สาขาวิชา ดังนี้
               1. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต (ได้พัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้มีมาตรฐานตาม มคอ.1 ในสาขาเทคโนโลยี)
               2. สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (ได้พัฒนาปรับปรุงจากวิชาเอกเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์)
               3. สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม (ได้พัฒนาปรับปรุงจากวิชาเอกเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม)
          ในปี พ.ศ. 2563 ได้มีการปรับชื่อสาขาวิชา ชื่อวิชาเอก ให้สอดคล้องกับการบริหารหลักสูตรและบริหารบุคลากรของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม จนถึงปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนทั้งสิ้น 11 หลักสูตร ดังนี้
          1. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
               – สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ แยกเป็นแขนงวิชา ดังนี้
                    1.1 เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์)
                    1.2 เกษตรศาสตร์ (สัตวศาสตร์)
                    1.3 เกษตรศาสตร์ (การจัดการการเกษตร)
                    1.4 เกษตรศาสตร์ (คหกรรมศาสตร์)
                    1.5 เกษตรศาสตร์ (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
          (ลำดับที่ 1 – 5 เป็นแขนงวิชาจากหลักสูตรเก่าที่ยังมีนักศึกษาอยู่ในระบบ)
                    1.6 เกษตรศาสตร์ (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
                    1.7 เกษตรศาสตร์ (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์)
                    1.8 เกษตรศาสตร์ (การจัดการการเกษตรสมัยใหม่)
                    1.9 เกษตรศาสตร์ (การประมง)
          (ลำดับที่ 6 – 9 เป็นแขนงวิชาปรับปรุงจาก 1-3 และ 5)
     
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
                    – สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
          3. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
                    – สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต
          4. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
                    – สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  
          5. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
                    – สาขาวิชา เทคโนโลยีวิศวกรรมโยธา
          6. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
                    – สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
          7. หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
                    – สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้าอุตสาหกรรม
         8. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
                    – สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิตและการจัดการ
          9. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
                    – สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
          10. หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
                    – สาขาวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี
          11. หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี
                    – สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และระบบอัตโนมัติ
          ปัจจุบัน คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งมี “ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอราวัณ ชาญพหล” เป็นผู้บริหารในตำแหน่งคณบดี ได้ทำหน้าที่บริหารจัดการตามข้อบังคับและสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ซึ่งมีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตระดับ ปริญญาตรี จำนวน 11 หลักสูตร โดยมีบุคลากรสายวิชาการจำนวน 60 คน บุคลากรสายสนับสนุนจำนวน 28 คน ร่วมกันดำเนินกิจกรรมและโครงการเพื่อให้พันธกิจของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม บรรลุตามวัตถุประสงค์และตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยประชาคมของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ได้มีการกำหนดปรัชญา ปณิธาน เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย กลยุทธ์ สำหรับเป็นแนวการบริหารจัดการในแต่ละด้าน ดังต่อไปนี้

                    ปรัชญา : “ใฝ่รู้ สู้งาน ชำนาญกิจ

                    ปณิธาน : “ใฝ่เรียนฝึกฝน ดำรงตนอย่างมีคุณธรรม นำความรู้สู่ท้องถิ่น”

                    เอกลักษณ์ (Identity) : “คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นแหล่งองค์ความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่น

                    อัตลักษณ์ (Uniqueness) : “บัณฑิตที่มีคุณธรรม มีความรู้ สู้งาน

                    วิสัยทัศน์ (Vision) : “คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีความเป็นเลิศ ด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และนวัตกรรม”

                    พันธกิจ (Mission)  

          ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ระบุไว้ใน มาตรา 7 “ให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการการบำรุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยมี วัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ผลิตครูและส่งเสริมวิทยะฐานะครู” คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์จึงกำหนดพันธกิจไว้ 5 ด้านประกอบด้วย

                    1. การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศ
                    2. การวิจัยและบริการสังคม
                    3. การผลิตบัณฑิตด้วยกระบวนการคุณภาพ
                    4. การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
                    5. การบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล

                         ค่านิยม (Value) : AGTE

                   A = Ability เป็นผู้ที่มีความสามารถด้านเกษตร อุตสาหกรรม และนวัตกรรม

                   G = Gracefulness มีความสง่างาม

                   T = Teamwork มีการทำงานร่วมกัน

                   E = Ethics มีจริยธรรม

นโยบายในการบริหารงานของคณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

          คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้มีการกำหนดนโยบายการบริหารงาน โดยผ่านการระดมสมอง การทำ SWOT และผ่านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ จากผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย กำหนดนโยบายการบริหารงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จึงได้กำหนดนโยบายการบริหารงาน 5 ด้าน ไว้ดังนี้

1. ด้านการจัดการศึกษาและผลิตบัณฑิต

1.1 ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของผู้เรียน ยกระดับหลักสูตรเดิมให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับความต้องการของสังคม รับประกันการมีงานทำ รวมถึงมีการผลักดัน หลักสูตรแบบโมดูล (Modular System)

1.2 สร้างอัตลักษณ์ของหลักสูตรที่มีความโดดเด่นและแตกต่าง โดยพัฒนาหลักสูตรใหม่รวมถึง การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น และหลักสูตรบูรณาการ

1.3 ส่งเสริมให้มีการนำระบบการเรียนแนวใหม่สำหรับศตวรรษที่ 21 มาใช้ในการจัดการเรียน  การสอน เพื่อให้อาจารย์สามารถผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต

1.4 จัดหาอุปกรณ์และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้เพียงพอและพร้อมใช้งาน เน้นให้นักศึกษาปฏิบัติงานจริงร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยในการจัดการเรียนการสอน

1.5 ประกันคุณภาพหลักสูตรและการมีงานทำโดยสนับสนุนการสร้างเครือข่ายกับสถาน ประกอบการและหน่วยงานภายนอก รวมถึงการใช้สหกิจศึกษาเป็นเครื่องมือในการบ่มเพาะนักศึกษาให้เป็น ผู้ประกอบการ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการจัดอบรมหลักสูตรเข้มข้นก่อนจบการศึกษาเพื่อให้บัณฑิตมีความพร้อม สามารถทำงานในสถานประกอบการได้ทันที

1.6 จัดหาแหล่งทุนสนับสนุนการศึกษา จากสถานประกอบการ หน่วยงานเอกชน สมาคมศิษย์เก่า จัดตั้งกองทุนการศึกษา รวมถึงกิจกรรมการหารายได้ เช่น การเดิน การวิ่ง หรือการจัดการ แข่งขันกีฬาเพื่อการกุศล เป็นต้น

  1. ด้านการวิจัย

2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพบุคลากร ด้านงานวิจัย และให้นักศึกษา            ร่วมสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม

2.2 แสวงหาเครือข่ายวิจัยและแหล่งทุนวิจัยจากภายนอก ส่งเสริมการวิจัยแบบบูรณาการ      ข้ามศาสตร์ โดยเน้นงานวิจัยต้องตอบโจทย์ชุมชนท้องถิ่น จังหวัดภูมิภาคและประเทศโดยรวม โดยจะพัฒนาต่อยอดโครงการวิจัยที่มีศักยภาพสูงเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ในการเพิ่มมูลค่าและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน      ทางปัญญา เพื่อพัฒนาให้เป็นเชิงพาณิชย์

2.3 พัฒนาศักยภาพด้านวิจัยโดยใช้ระบบเทรนนิ่งฟอร์เทรนเนอร์เพื่อนักวิจัยพี่เลี้ยง ส่งเสริมให้มีเวทีการนำเสนอผลงานและช่องทางการนำเสนอผลงาน รวมถึงผลักดันผลงานวิจัยทุกชิ้นให้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่

2.4 ผลักดันอาจารย์ที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่โครงการส่งเสริมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมจากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของภาครัฐไปปฏิบัติงานการเป็นที่ปรึกษาบริษัท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในภาคเอกชน (Talent Mobility)

  1. ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม

3.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน ท้องถิ่นอย่างแท้จริง โดยเน้นการมีส่วนร่วมชุมชนท้องถิ่น และหน่วยงานภายนอก

3.2 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยผลักดันให้มีห้องแล็บและห้องปฏิบัติการ        เพื่อชุมชน มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างมาตรฐานงานฟาร์ม มาตรฐานการผลิตสินค้าทางการเกษตร ผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการท่องเที่ยวทางการเกษตร

3.3 จัดตั้งหน่วยงานบริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้คณะกรรมการ ดำเนินงานที่มีระบบและกลไก ด้านการบริหารแบบมีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่การสร้างรายได้

3.4 สนับสนุนให้มีการจัดโครงการโดยน้อมนำแนวพระราชดำริมาบูรณาการในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน

  1. ด้านการบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

4.1 ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม โดยเน้นการมีส่วนร่วมบุคลากรของคณะ     และผลักดันให้มีกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับหน่วยงานภายนอก และชุมชนท้องถิ่น

4.2 จัดทำแผนทํานุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมอย่างมีระบบ โดยอาศัยกลไกการขับเคลื่อนจาก   ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม และความเป็นไทยร่วมกับปราชญ์ชุมชนในภูมิภาค

4.3 ส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีการบูรณาการพันธกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อใช้ อนุรักษ์ สืบสานฟื้นฟู และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะและวัฒนธรรม

4.4 จัดให้มีระบบและกลไกในการบูรณาการศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับการจัดการเรียนการสอนในทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อให้ผู้เรียนและบุคลากรของคณะได้รับการปลูกฝังให้เกิดความรู้และตระหนักถึงคุณค่าวัฒนธรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย

  1. ด้านการบริหารจัดการ

5.1 บริหารจัดการโดยใช้หลักธรรมาภิบาลทั่วทั้งองค์กร เน้นการมีส่วนร่วมใช้งบประมาณ และทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จของงาน (Key Performance Indicator) ในการกำกับติดตามผลลัพธ์จากการดำเนินงาน ภายใต้การบริหารความเสี่ยงอย่างมีระบบ

5.2 สร้างกิจกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการทางสังคม สานสัมพันธ์ในองค์กร ศิษย์เก่า และเครือข่าย ปลูกฝังค่านิยมรู้รักสามัคคีมีความเป็นเอกภาพของคณะ และมีค่านิยมร่วมกัน

5.3 ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของคณะเข้าสู่ความเชี่ยวชาญวิชาชีพ โดยส่งเสริม     ให้บุคลากรสายสนับสนุนเจริญก้าวหน้าตามสายงาน ส่วนการเข้าสู่ตำแหน่งของอาจารย์ใช้การบูรณาการพันธกิจที่มีอยู่ให้สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นผลงานทางวิชาการ เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กร

5.4 ผลักดันให้เกิดการจัดหารายได้ ด้วยระบบและกลไกพันธกิจที่มีอยู่โดยจัดตั้งหน่วยวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตร ศูนย์ปรึกษาทางวิชาการและหน่วยถ่ายทอดเทคโนโลยี ศูนย์ทดสอบ มาตรฐานฝีมือแรงงาน และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัย ภายใต้การบริหารจัดการอย่างมี ประสิทธิภาพ

5.5 สนับสนุนและส่งเสริมการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.6 จัดสวัสดิการ การสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากร สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ประเด็นแผนปฏิบัติราชการ

          คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ กำหนดแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องแนวทางการดำเนินงานของรัฐบาล โดยการจัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ซึ่งในแผนปฏิบัติราชการคณะมีประเด็นในการดำเนินงานของคณะ จำนวน 5 เรื่อง ดังนี้

เรื่องที่ 1 การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศ

เรื่องที่ 2 การวิจัยและบริการสังคม

เรื่องที่ 3 การผลิตบัณฑิตด้วยกระบวนการคุณภาพ

เรื่องที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

เรื่องที่ 5 การบริหารจัดการองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล

สถานที่ตั้ง

          อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 83 หมู่ 11 ถนนสระบุรี-หล่มสัก ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 67000 โทรศัพท์, โทรสาร 0-5671-7151 อินเตอร์เน็ต http://www.agritech.ac.th ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ทางด้านทิศเหนือ

Scroll to Top